วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีและหลีกเลี่ยงการเกิดโรค


การปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีและหลีกเลี่ยงการเกิดโรค


 ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาก็คือปัญหาเรื่องโรคกระดูกและข้อทำให้เกิดอาการปวดตามข้อและ กระดูก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเนื่องจากการเสื่อมของร่างกายเช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดเข่า และกระดูกพรุน ดังนั้นการป้องกันในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆจะช่วยลดปัญหาเรื่องของกระดูก และข้อ ป้องกันอาการปวดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.  น้ำหนักของร่างกายควรอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่อ้วนมากเกินไป ถ้าน้ำหนักมากเกินไปก็ควรจะลดน้ำหนักลงอย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักร่างกาย เนื่องจากน้ำหนักที่มากจะทำให้ท่านมีความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม โรคปวดหลัง นอกจากนั้นน้ำหนักร่างกายที่มากยังทำให้ท่านมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความ ดันโลหิตสูง เบาหวาน เก๊าท์ ไขมันในเลือดสูง ซึ่งความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆมากมาย ดังนั้นการลดน้ำหนักที่สำคัญได้แก่
a.        การหลีกเลี่ยง 3 ขาว ได้แก่
                                                    i.      อาหารประเภทแป้งเช่น ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง  ให้ทานผักมากๆ และเนื้อปลา
                                                   ii.      น้ำตาล  หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่หวาน ใส่น้ำตาลมาก
                                                  iii.      เกลือ  หลีกเลี่ยงการทานอาหารเค็ม เพราะจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ร่างกายมีการสะสมมากขึ้น เกิดอาการบวม ทำให้ไตทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น
b.        การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 15-30 นาที  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอดีกว่าการโหมออกกำลังกายหนักเพียงวันหรือสองวัน ถามว่าการออกกำลังอะไรบ้างที่ดีที่เหมาะสม
                                                    i.      ว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ เหมาะสมกับคนไข้ที่มีอาการปวดหลัง
                                                   ii.      การใช้เครื่องช่วยออกกำลังกายเช่น elliptical exercise (รูปที่ 1)
                                                  iii.      การเดินเพื่อออกกำลังกาย

2. พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
a.        การ นั่งกับพื้น การนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เนื่องจากการนั่งกับพื้นนานๆ จะทำให้น้ำหนักกดลงบริเวณกระดูกสันหลังบริเวณเอวส่วนล่างมาก จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และการงอเข่ามากๆก็จะเพิ่มความดันภายในข้อเข่า ทำให้กระดูกสะบ้าเกิดการเสียดสีกับกระดูกบริเวณข้อเข่า เกิดข้อเข่าเสื่อมและทำให้มีอาการปวดเข่าได้
b.        การยกของหนัก หรือก้มยกของ
c.         การแหงนศรีษะเป็นเวลานาน หรือท่านอนนระผมแล้วมีการแหงนศรีษะมาก
3. ในผู้สูงอายุยิ่งควรระมัดระวัง
a.        การลื่นหกล้ม แก้ไขโดย
                                                    i.      การเปิดไฟภายในบ้านให้สว่างเพียงพอ
                                                   ii.      วางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม
                                                  iii.      การติดราวจับไว้ภายในห้องน้ำ เพื่อให้จับเวลาเดินในห้องน้ำ
                                                 iv.      อย่าใช้ผ้ารองพื้นที่ลื่น
                                                  v.      อย่าเลี้ยงสัตว์ไว้ภายในบ้าน เพราะอาจวิ่งชนทำให้หกล้มได้ง่าย 
การหลีกเลี่ยงอาการปวดเนื่องจากพฤติกรรม 

a.        หลีกเลี่ยงการแหงนศีรษะ เนื่องจากการแหงนศีรษะจะทำให้กระดูกสันหลังข้อต่อบริเวณคอมีการรับน้ำหนัก เพิ่มมากขึ้น และถ้าในกรณีที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดต้นคอเพิ่มขึ้น ท่าที่มักทำให้เกิดอาการปวดเช่น แหงนศีรษะดูต้นไม้ นก หรือนอนสระผมตามร้านที่ต้องนอนแหงนศีรษะนานๆ 

a.        เมื่อท่านมีอาการปวดไหล่ ก่อนที่จะไปนวด ไปทำกายภาพบำบัด ควรได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อน เพราะสาเหตุของอาการปวดไหล่ส่วนใหญ่มักเกิดจากเส้นเอ็นอักเสบ หรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็น เพราะฉะนั้นเมื่อท่านมีอาการปวดไหล่แล้วไปนวดบริเวณไหล่ ก็จะทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
b.        นอกจาก นั้นท่าที่ต้องระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่ได้แก่ การแกว่งไหล่ขึ้นเหนือศีรษะ เนื่องจากว่า อาการปวดไหล่ในส่วนใหญ่มักจะเกิดจากมีการเสื่อมของกระดูกข้อต่อบริเวณข้อ ไหล่ และกระดูกที่บริเวณข้อไหล่มีการโค้งตัวลงมามาก อาจมีกระดูกงอกออกมาเนื่องจากกระบวนการเสื่อมของร่างกาย ร่วมกับการเสื่อมของเส้นเอ็นอาจจะมีการบวม ทำให้เมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีอาการปวดไหล่ และอาจจะมีการฉีกกขาดของเส้นเอ็นได้ ดังนั้นจึง
c.       หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายด้วยการแกว่งไหล่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดไหล่อยู่แล้ว
d.        หลีกเลี่ยงการเอื้อมหยิบของและต้องหมุนไหล่มากๆเช่น ในรถ ถ้าท่านนั่งเบาะด้านหน้า อย่าพยายามเอื้อมไปหยิบของด้านหลังรถ เพราะจะทำให้เกิดการบิดหมุนไหล่มากและจะทำให้เกิดอาการปวดไหล่ขึ้นมาได้ เนื่องจากเส้นเอ็นจะไปเสียดสีกับกระดูกที่บริเวณไหล่ทำให้มีอาการปวด 

a.        หลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้นราบ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ  การนอนคว่ำเพราะการกระทำในท่าต่างๆเหล่านี้จะทำให้น้ำหนักของร่างกายถ่ายไป ยังข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวมาก อาจจะทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการปวดหลังได้
b.        หลีกเลี่ยงการก้มยกของหนัก เพราะถ้าก้มยกของหนักจะเพิ่มโอกาสในการเกิดหมอนรองกระดูกฉีกขาด และเคลื่อนกดทับเส้นประสาทได้
c.         ในกรณีที่มีอาการปวดหลังอยู่แล้ว และไปนวดเพื่อแก้อาการปวดหลัง ควรหลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ เนื่องจากการนอนคว่ำจะทำให้น้ำหนักของร่างกายถ่ายไปยังกระดูกข้อต่อสันหลัง รวมทั้งในกรณีที่มีหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทอยู่แล้ว ก็จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น
d.        เวลาไอหรือจามอย่าก้มตัวมาก เพราะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทได้ เพราะเวลาไอหรือจามจะมีการเพิ่มความดันภายในช่องท้องมาก และในท่าก้มก็เป็นท่าที่มีความเสี่ยงของการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง
e.        การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานควรจะเลือกจักรยานที่มีเบาะขนาดใหญ่ และตัวไม่ก้มมากเกินไป เพราะถ้าใช้เบาะเล็กแล้วจะทำให้เกิดการกดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณ อวัยวะสืบพันธุ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพทางเพศได้

a.        ลดน้ำหนักร่างกายในกรณีที่ท่านมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
b.        หลีกเลี่ยงการงอเข่ามากๆ เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ
c.         ถ้ามีอาการปวดเข่ามากให้ใช้ไม้เท้าเพื่อพยุงในการเดิน โดยถือไม้เท้าด้านตรงข้ามกับเข่าข้างที่มีอาการ เพื่อจะช่วยในการกระจายน้ำหนักเวลาเดิน

เครื่องออกกำลังกายวงรี
หลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น
 






_________________________________________________

สอบถามปัญหา

สุขภาพกระดูกและข้อครับ

line id search @doctorkeng 

กรุณากดลิงก์ http://line.me/ti/p/%40vjn2149j 

หรือที่ QR code
แล้วกด add นะครับ

อ่านความรู้โรคกระดูกและข้อเพิ่มเติมได้ที่
โทร 081-5303666
หมอเก่ง : ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ (Taninnit Leerapun, MD, MS, MBA)
ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมอเก่งคลินิก (สันป่าข่อยคลินิก)

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีใหม่ ในการวินิจฉัยและรักษาโรคกระดูกและข้อด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ (Ultrasound)

เทคโนโลยีใหม่ ในการวินิจฉัยและรักษาโรคกระดูกและข้อด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ (Ultrasound)

          ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกและข้อมีการพัฒนาก้าวหน้าเป็นอย่างมาก  สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำและรวดเร็ว และช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เราได้มีการนำเครื่องเสียงความถี่สูง หรือ ultrasound มาช่วยในการวินิจฉัยโรค รวมทั้งนำมาใช้ระบุตำแหน่งในการฉีดยาตรงบริเวณที่เป็นโรค เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ช่วยให้การวินิจฉัยและการรักษาประสบผลสำเร็จมากกว่าในอดีตที่มีการฉีดยา เฉพาะที่โดยไม่ได้ใช้เครื่อง ultrasound  ดังนั้นเครื่องเสียงความถี่สูงหรือ ultrasound จึงมีประโยชน์มากในการรักษาอาการต่างๆในโรคกระดูกและข้อ ทั้งในการวินิจฉัยและการระบุตำแหน่งของรอยโรค ซึ่งอาการของกระดูกและข้อต่างๆเหล่านี้สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาที่ถูก ต้องได้แก่

1. อาการปวดไหล่ ( http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/shoulder-km/166-shoulderdisease-correct-diag.html) ซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ยกไหล่แล้วมีอาการเจ็บ ไหล่ติด บางครั้งอาการปวดมากจนขยับไม่ได้ หรือนอนทับไหล่ข้างนั้นก็จะมีอาการปวด ซึ่งเราสามารถนำเครื่องเสียงความถี่สูงหรือ ultrasound มาช่วยในการวินิจฉัยภาวะของส้นเอ็นที่มีการฉีกขาด เอ็นอักเสบ มีการบวมน้ำ หรือภาวะที่มีแคลเซียมในเส้นเอ็นและทำให้เกิดการอักเสบ ไม่ต้องรอดูอาการ โดยการลองทานยา ไปนวด ทำกายภาพบำบัดแล้วมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น และเมื่อเราสามารถวินิจฉัยภาวะของอาการปวดไหล่ไปแล้ว การฉีดยาเพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบก็สามารถระบุตำแหน่งที่จะฉีดยาได้อย่างแม่นยำ ไม่ได้ฉีดยาเข้าไปในเส้นเอ็น ซึ่งจะมีผลทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดเพิ่มมากขึ้น





2. อาการปวดเข่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อม ( http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/knee-km/123-knee-asking.html)  สามารถใช้เครื่องเสียงความถี่สูงในการดูเรื่องของการมีน้ำในข้อเข่า เนื่องจากมีการอักเสบ การดูกระดูกงอกบริเวณรอบๆข้อเข่า การประเมินถุงน้ำบริเวณด้านหลังเข่า ซึ่งหลังจากวินิจฉัยได้แล้วก็สามารถใช้เครื่อง ultrasound เป็นตัวบ่งบอกตำแหน่งในการดูดน้ำที่เกิดจากการอักเสบ และฉีดยาเข้าไปในข้อเข่าได้อย่างแม่นยำ






3. อาการปวดหลัง ( http://www.taninnit.com/mor-keng-knowledge/mor-keng_gen-km/90-backachec-not-surgery.html) ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดหลัง หรือร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงบริเวณก้น ปวดร้าวลงขา ร่วมกับมีอาการชา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือมีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาท จึงทำให้ผู้ป้วยมีอาการดังกล่าว ดังนั้นการฉีดยาเข้าโพรงประสาทด้วยการใช้เครื่องultrasound เป็นตัวบ่งบอกในการฉีดยาจะทำให้สามารถฉีดได้ถูกตำแหน่ง ช่วยลดอาการปวดลงเป็นอย่างมาก ร่วมกับการรับประทานยาและการปรับพฤติกรรม ( http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/back-neck-km/113-backpain-change.html )


4. อาการปวดต้นคอ ( http://www.taninnit.com/mor-keng-knowledge/mor-keng_gen-km/neck-km/114-neckpain-disk.html ) สาเหตุก็คล้ายกับอาการปวดหลัง ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือมีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดร้าวลงสะบัก ร้าวลงแขน ร่วมกับมีอาการชาที่แขนและมือร่วมด้วย อาการปวดส่วนหนึ่งเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และมีการอักเสบของเส้นประสาท เราสามารถใช้เครื่อง ultrasound ระบุตำแหน่งของแส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อในบริเวณที่มีอาการปวด และฉีดยาไปในตำแหน่งนั้น เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว บรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่งมาก ร่วมกับการรักษาด้วยการรับประทานยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ( http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/general-km/176-bone-disease-suggest.html )



5. อาการปวดบริเวณส้นเท้า ( http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/general-km/87-foot-fascia.html )  สาเหตุหลักคือมีการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้า ชั้นไขมันบริเวณส้นเท้าบางลง และมีการหดตัวของเส้นเอ็นร้อยหวายที่บริเวณส้นเท้า ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากเวลาเดิน หรือยืนนานๆ หรือตื่นนอนตอนเช้าเมื่อก้าวลงจากเตียงจะมีอาการเจ็บปวดมากบริเวณส้นเท้า ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ น้ำหนักตัวที่มาก การยืนนานๆ การเดินหรือวิ่งมากๆ พบได้บ่อยเช่น นักกอล์ฟ พ่อค้าแม่ค้าที่ยืนขายของเป็นระยะเวลานาน การรักษาอย่างหนึ่งได้แก่การฉีดยาลดการอักเสบเข้าไปยังตำแหน่งบริเวณที่มี การอักเสบ ซึ่งเราสามารถระบุตำแหน่งที่ถูกต้องด้วยการใช้เครื่องเสียงความถี่สูงหรือ ultrasound มาใช้ประโยชน์



_________________________________________________
เชิญเพิ่มเพื่อนทาง line จาก หมอเก่ง กระดูกและข้อ
เพื่อรับข้อมูลข่าวสารสุขภาพกระดูกและข้อครับ
line id search @doctorkeng กรุณากดลิงก์ http://line.me/ti/p/%40vjn2149j 
หรือที่ QR code
แล้วกด add นะครับ

อ่านความรู้โรคกระดูกและข้อเพิ่มเติมได้ที่
โทร 081-5303666
หมอเก่ง : ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ (Taninnit Leerapun, MD, MS, MBA)
ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 หมอเก่งคลินิก (สันป่าข่อยคลินิก)